วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วันหยุดที่ไม่ได้เรียน

วันหยุดที่ไม่ได้เรียนมีดังนี้
1.ครั้งที่2 วันพุธ ที่2 กันยายน พ.ศ.2558 
                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดธุระ
2.ครั้งที่5 วันพุธ ที่23 กันยายน พ.ศ.2558
                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
3.ครั้งที่6 วันพุธ ที่30  กันยายน พ.ศ.2558
                   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบปลายภาค

รวมทั้งหมด 15ครั้งค่ะ

ครั้งที่15

การบันทึกครั้งที่15 วันศุกร์ ที่11 ธันวาคม พ.ศ.2558
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
ชาร์ตเพลงปลายภาค
       ดิฉันทำชาร์ตเพลง "นกกระจิบ"










ประเมินตนเอง

         ดิฉันตั้งใจทำชาร์ตเพลงมากค่ะ ดิฉันทำสุดฝีมือของตัวเองเลยค่ะ ขีดเส้น วาดรูป เขียน และระบายสี ทำเองทุกอย่างค่ะ ผลงานออกมาดิฉันภูมิใจมากค่ะ 






ครั้งที่14

การบันทึกครั้งที่14 วันพุธ ที่25 พฤศจิกายน  พ.ศ.2558 เรียนเวลา08.30-12.30น.
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ให้กลุ่มที่ไม่นำเสนออาทิตย์ที่ผ่านมาให้ออกมานำเสนอค่ะ



-อาจารย์ให้สอบร้องเพลงค่ะคนละ 1 เพลง โดยมีการจับฉลากเลขที่แล้วออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียนค่ะ





-วันนี้เป็นการเรียนสัปดาห์สุดท้ายอาจารย์ได้ประกาศคนที่มีดาวเยอะที่สุดมีอยู่ 3 คน



ประเมินตนเอง

           วันนี้หนูทำดีที่สุดแล้ว ผลที่ออกมาหนูก็ภูมิใจค่ะ คะแนน10/10

ประเมินเพื่อน

           วันนี้เพื่นๆต่างตั้งใจค่ะ และเพื่อนทำดีทุกคนเลยค่ะ คะแนน10/10

ประเมินอาจารย์

           ชอบอาจารย์มากค่ะ อาจารย์สอนเข้าใจและสอนสนุกมากค่ะ ไม่ค่อยเครียดเท่าไหร่ ชอบการเรียนแบบนี้มากค่ะ ชอบอาจารย์เป็นคนร่าเริงยิ้มตลอด ให้คำปรึกษาตลอดเวลา 




ครั้งที่13

การบันทึกครั้งที่13 วันพุธ ที่18 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 เวลาเรียน 08.30-12.30 น.
เนื้อหาทีเรียน
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  1. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
  2. การสื่อสารกับผู้อื่น
  3. เด็กได้มีโอกาสฟังและมีความเข้าใจ
  4. การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
  5. การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ในที่สื่อความหมายต่อเด็ก
การประเมิน
  1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
  2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
  3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
  4. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
  5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
  6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปสอน





-อาจารย์ให้ดูวีดิโอการจัดการเรียนการสอนของรุ่นพี่ที่ไปฝึกสอนค่ะ



ประเมินตนเอง
   
          วันนี้มีแต่กิจกรรมในห้องเรียน สนุกดีค่ะ ทำให้ไม่เครียดค่ะ และหนูตั้งใจเรียนด้วยค่ะ คะแนน 10/10

ประเมินเพื่อน

          เพื่อนตั้งใจทำงานมากค่ะ อาจจะมีคุยกันบ้างแต่งานที่ทำออกมาก็ออกมาดีทุกกลุ่มเลยค่ะ 
คะแนน 10/9

ประเมินอาจารย์
        
        ชอบเวลาอาจารย์สอน อาจารย์จะยิ้มให้ตลอด สนุกมากค่ะ คะแนน 10/10




ครั้งที่12

การบันทึกครั้งที่12 วันพุธ ที่11 พฤศจิกายน เรียนเวลา 08.30-12.30น.
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแต่งนิทานคำถามและวาดรูปลงกระดาษเองค่ะ





-กลุ่มดิฉันแต่งเรื่อง หนอนผีเสื้อ
     
     



ประเมินตนเอง

            ช่วยเพื่อนคิดเรื่องและระบายสี ตั้งใจทำงานมากค่ะ คะแนน10/10

ประเมินเพื่อน

            เพื่อนให้ความร่วมมือค่ะ ต่างคนต่างทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดีค่ะ 
คะแนน10/10

ประเมินอาจารย์

           อาจารย์ให้คำแนะนำในการแต่งนิทานและวิธีกการทำค่ะ คะแนน 10/10





ครั้งที่11

การบันทึกครั้งที่ 11 วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2558  เรียนเวลา 08.30-12.30น
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
เริ่มเรียนโดยอาจารย์ให้ฟังเสียงสัตว์และเสียงดนตรี ให้นักศึกษาทายว่าเป็นเสียงอะไร


                                      

กิจกรรมทำท่าอะไรก็ได้พร้อมพูดชื่อตัวเองไปด้วย


แบ่งเป็นกลุ่มฝึกการเขียนตัวกลมหัวเหลี่ยมโดยฝึกที่ละคน














ประเมินตนเอง
             
          วันนี้ได้ฝึกการเขียนหัวกลัมตัวเหลี่ยมด้วยตนเอง สนุกดีค่ะ พอใจในผลงานที่ออกมาด้วยค่ะ
คะแนน 10/9

ประเมินเพื่อน

          เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างค่ะ ต่างคนต่างตั้งใจทำงานของตัวเองค่ะ คะแนน10/10

ประเมินอาจารย์

        อาจารย์ทำกิจกรรมก่อนเรียนชอบค่ะ คลายเครียดดีค่ะ  คะแนน 10/10

         









วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่10

การบันทึกครั้งที่10  วันพุธ ที่28 ตุลาคม พ.ศ.2558 เรียนเวลา 08.30-12.30น.
เนื้อหาที่เรียน
   การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
-ความหมายของการสอนแบบโครงสร้าง 
  • ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ 
  • การสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆที่อยู่ในชั้นเรียน
  • หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็ก
-การสอนแบบหน่วย
  • การวางแผนกิจกรรมต่างๆตามหัวเรื่องที่ครูพิจารณาแล้วว่าสำคัญและเด็กควรรู้
  • ครูมีการวางแผนการสอน กำหนดแนวคิดและสาระความรู้ที่ต้องการให้เด็กทราบอย่างชัดเจน
-ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบหน่วยกับการสอบแบบโครงการ
  1. ระยะเวลาการเรียนรู้
  2. หัวเรื่อง
  3. การจัดประสบการณ์
  4. การกำหนดจุดประสงค์
  5. ความรู้ที่เด็กได้รับ
  6. แหล่งข้อมูลต่างๆ
  7. การออกภาคสนาม
  8. กระบวนการเรียนรู้ตามหัวข้อ
  9. กิจกรรม
  10. การนำเสนอ
-ประโยชน์ของการสอนแบบโครงการ
  • ช่วยเด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
  • แสดงให้เห็นถีงความสามารถและความถนัดของเด็ก
-กระบวนการ
  1. การอภิปรายกลุ่ม
  2. การนำเสนอประสบการณ์
  3. การศึกษานอกสถานที่ 
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง
-ระยะของงานโครงการ
  • ระยะที่1 ทบทวนความรู้
  • ระยะที่2 ให้โอกาสเด็กค้นคว้า
  • ระยะที่3 ประเมิน สะท้อนกลับ
ความรู้ที่ได้รับ

-คำคล้องจองเพลงที่แต่ละกลุ่มได้แต่งไว้โดยให้แต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงหน้าชั้นเรียนพร้อมท่าประกอบค่ะ







กลุ่มดิฉันค่ะ

                                    




-เล่นเกมโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม เล่นเกมใบ้คำ






-การสอนแบบโครงการ (Project Approach)





-ร้องเพลงใหม่ด้วยค่ะ

ประเมินตัวเอง

       เรียนสนุกมากค่ะ ได้ทำกิจกรรมและเล่นเกมในห้องเรียนอีกด้วย ทำให้ไม่เครียดค่ะ
คะแนน 10/10

ประเมินเพื่อน

       เพื่อนให้ความร่วมมือดีมากค่ะ และตั้งใจฟังเพื่อนร้องเพลงด้วยค่ะ คะแนน 10/10

ประเมินอาจารย์

       อาจารย์สอนสนุกมากค่ะ สอนร้องเพลงด้วยค่ะ คะแนน10/10